วันศุกร์, พฤศจิกายน 8, 2024
คอลัมภ์

พิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า-บารากุ น่ากลัว

ผมเป็นกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยที่ผ่านมาเคนนำเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า เข้าที่ประชุม พูดถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างขว้างขวาง และเป็นที่อันตรายเป็นอย่างมากบางส่วนบางตอน

จากคณะกรรมการผู้บริโภคครับ กล่าวคือคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า ‘บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า’ ระบุ กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม ห้ามให้ผู้ใดขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้บริการ หรือจัดหาบุหรี่ไฟฟ้าให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนดังกล่าว และจากการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีสารเคมีที่ เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด นอกจากนี้ ยังพบโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งการสูบอุปกรณ์ดังกล่าวอาจทำให้ผู้สูบเกิดโรคต่าง ๆ และเป็นสาเหตุของโรคติดต่อหลายชนิด

ดังนั้นหากผู้ใดขายหรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า จะต้องรับผิดตามมาตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นักวิชาการเผย 8 ความจริง! บุหรี่ไฟฟ้า พบนิโคตินรูปแบบใหม่ ทำติดง่าย เลิกยาก งานวิจัยชี้ส่งผลพัฒนาทางสมองของวัยรุ่น  ขณะที่ผลตรวจปัสสาวะคนสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีไซยาไนด์ หนำซ้ำคนไม่สูบรับผลกระทบสารอื่นๆ เช่น ฝุ่นพิษ PM2.5   ด้านกรรมการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทยเผยปี 60 ไทยเคยเสีย

นิโคติน ติดง่าย เลิกยาก  ส่วนที่มีการเปรียบเทียบว่า นิโคตินกับสารอื่นๆ อย่างคาเฟอีน ก็ไม่แตกต่าง แต่จริงๆ นิโคตินมีฤทธิ์เสพติดสูงกว่าคาเฟอีนหลายร้อยหลายพันเท่า และขึ้นสู่สมองเร็วมากในเวลาไม่เกิน 7 นาที ทำให้ติดง่าย เลิกยาก
 
“นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า มีสูงกว่าบุหรี่ธรรมดา  บางยี่ห้อในบุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ธรรมดา 50 มวน อันตรายน้อยกว่าจึงไม่ใช่เรื่องจริง และหากอายุไม่ถึง 25 ปี สมองยังเติบโตพัฒนาได้ แต่หากมีสารพิษ สารเสพติดเข้าไปก็จะหยุดการเจริญเติบโต โดยนิโคตินจะไปทำลายกลไกตรงนี้

นี่คือส่วนหนึ่งผมนำมาบอกและพูดให้ฟังพิษภัยมันมากมายจริงๆ เพราะเหตุนี้แหละครับทุกวันนี้สินค้าประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก

ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางของผู้รักษากฎหมายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องนำเอาไปเป็นเครื่องต่อรอง เรียกใต้ดินกัน ในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสภาผู้แทนราษฎรวันนั้นที่ประชุมกันก็ถกกันเรื่อง แล้วให้กลับไปแก้กวาดล้างจับกุม แต่ดูเหมือน

สีซอให้ควายฟัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *