ครูหนุ่มผลิตยางพาราเป็นดีเซลต้นทุน4บาทครูต่าง ส.ส.สกลนครหนุนเต็มที่
สกลนคร สุดยอดคนเก่งครูหนุ่มแปรรูปยางพาราเป็นพลังงาน เชื่อช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ
ครูหนุ่มวัย 33 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำนวัตกรรมยางพารามาสกัดเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ส.ส.ต่าง เตรียมผลักดันต่อยอดให้เป็นพลังงานทางเลือก
หลังจากที่ได้ใช้รีโมท คอนโทรลควบคุมรถไถนาเดินตาม ด้วยระบบ GPS
ที่มานาคาเฟ่ เลขที่ 91 หมู่ 13 บ้านทุ่งสวรรค์ ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านของครูน้อย หรือนายทวีชัย ไกรดวง อายุ 33 ปี ผู้มีความสมารถในการผลิตยางพาราสกัดเป็นพลังงานเชื้อเพลิงใช้กับรถไถนา เครื่องสูบน้ำ โดยมี นายชัยมงคล ไชยรบ ส.ส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ นายไสว ทะจรสมบัติ นายก ทต.ท่าศิลา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สท. เข้าร่วมสังเกตุการณ์การสาธิตการผลิตและการทดลองใช้งาน ปรากฏว่าเมื่อเติมเชื้อเพลิงที่สกัดจากยางพาราใส่รถไถนาและเครื่องสูบน้ำแล้วใช้ได้จริง เครื่องไม่มีสะดุดหรือมีปัญหากับเครื่องยนต์
ครูน้อย กล่าวว่า ครูน้อย กล่าวว่า ใช้เครื่องกรองน้ำในโรงเรียนรุ่นเก่าที่ไม่ใช้ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องสกัดน้ำมัน ขั้นตอนการผลิตส่วนผสม 1 ลิตรใช้ต้นทุนเท่าไหร่ตอบนะครับ 1 ลิตรใช้ต้นทุน 4 บาทในการกลั่นยางพาราเพื่อออกมาเป็นน้ำมันดีเซล b100ในช่วงแรกต้องการผลิตขายให้กับชุมชนเพื่อสร้างชุมชนแต่ละชุมชนให้เกิดการเข้มแข็งตามหลักทฤษฎีป่าล้อมเมือง แต่ยังไม่ขายให้กับเอกชนที่จะนำไปทำกำไรเพราะจะทำให้เกษตรกรเสียโอกาสในการใช้น้ำมันที่มีราคาต่ำกว่าตลาด ถ้าหากขายเครื่องให้เอกชนเอกชนก็จะเอาเครื่องไปสร้างกำไร แล้วดึงราคาน้ำมันให้เท่ากันหรือต่ำกว่าราคากลางเพียงเล็กน้อยแต่ถ้าเครื่องพวกนี้ไปอยู่ประจำในตัวจังหวัดจังหวัดละ 1 เครื่องเป็นการจุดประกายเกษตรกรเล็กๆ
ส่วนผู้ที่สนใจที่ต้องการศึกษาดูงานศึกษาเครื่องให้เข้าไปเรียนรู้ศึกษาและก็เป็นการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจชุมชนอีกทางด้วย ส่วนการจดสิทธิบัตรหรือไม่นั้น ยังไม่จดสิทธิบัตรแต่ก็เปิด open ให้กับนักพัฒนานักประดิษฐ์ของประเทศไทยได้ต่อยอดเพื่อเป็นการช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมยางพาราของประเทศไทยต่อไป ในยุคราคาตกต่ำสามารถแก้ปัญหาให้เกษตรกร อันแรกที่คิดไว้คือให้เกษตรกรนำยางพาราที่ตัวเองมีอยู่นำมาเข้าเครื่องกันโดยเสียค่าการผลิตลิตรละ 4 บาทแล้วนำน้ำมันกลับบ้านเติมรถไถนาของตัวเองที่ทำการเกษตรเพื่อลดต้นทุนในการทำการเกษตรทำไร่ทำนาสร้างชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนก่อนขั้นตอนต่อไปเป็นการรวมชุมชนสร้างรัฐวิสาหกิจการกลั่นยางพาราเป็นน้ำมันเพื่อขายในระดับชุมชน ขั้นที่ 3 คือการสร้างเครื่องและให้ความรู้ในระดับจังหวัด
ด้าน นายชัยมงคล ไชยรบ กล่าวว่า ได้ให้คำแนะนำว่าควรไปขึ้นบัญชีนวัตกรรม กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา จากนั้นนำแนวคิดนี้ไปหารือกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดหางบประมาณลงมาให้ท้องถิ่นดำเนินการ อาจจะจัดซื้อเครื่องสกัดมาไว้ตำบลละ 1 เครื่อง แล้วเกษตรกรนำยางพารามาขายเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมัน
ก่อนหน้านี้ ครูน้อยใช้นวัตกรรมระบบ GPS กับรถไถนาเดินตาม เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน จากการบังคับรถไถนาเดินตาม ด้วยรีโมทคอนโทรล ซึ่งมีวิธีการทำงาน คือการควบคุมด้วยระบบดาวเทียม เมื่อรถไถประสบปัญหาที่นาเป็นหลุมลึก 30 เซ็นติเมตรขึ้นไป หรือมีสิ่งกีดขวาง รถไถเดินตามก็จะหยุดทันที แล้วจะใช้รีโมทบังคับเลี้ยวหลบหลุม ปัจจุบันครูน้อยเป็นพนักงานราชการ สังกัดโรงเรียนบ่อน้อยประชาสรรค์ ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี สำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1