วันศุกร์, ธันวาคม 27, 2024
Uncategorized

หนึ่งเดียวในโลก28 ต.ค.โดยจะมีการแสดงวิถีชีวิตและรากเหง้า จากชนเผ่า 6 เผ่า 2 เชื้อชาติ ที่อยู่กันมาด้วยความรักสามัคคีและร่มเย็นสงบสุข โดยลวดลายของปราสาทผึ้งทุกหลัง ถูกตกแต่งเป็นเรื่องราวของพุทธประวัติ และความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวสกลนคร 

สกลนคร อลังการ์ปราสาทผึ้งเมืองสกลถูกนำมาตั้งโชว์ความงดงามวิจิตรบรรจงหนึ่งเดียวในโลก

ปราสาทผึ้งที่งดงามวิจิตรตระการตา จำนวน 11 ขบวน ถูกนำมาตั้งโชว์ให้นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนได้ชมและถ่ายภาพ ความอลังการ์ที่ช่างตกแต่งขึ้นมาด้วยความประณีต หนึ่งเดียวในโลกทีลาน ร.5  รอการแห่ 28 ต.ค.นี้

ค่ำวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ชาวชุมชนและชาวคุ้มวัดต่างๆรวม 11 หลัง ใน จ.สกลนคร นำปราสาทผึ้งที่ถูกตกแต่งขึ้นมาอย่างประณีตและงดงามวิจิตรตระการตา ถูกนำมาโชว์ความอลังการ์ให้พุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวได้ชมและบันทึกภาพ เก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะถูกนำเข้าขบวนแห่ ร่วมกับนักแสดงที่แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ในตอนเย็นวันที่ 28 ตุลาคม 2566 โดยจะมีการแสดงวิถีชีวิตและรากเหง้า จากชนเผ่า 6 เผ่า 2 เชื้อชาติ ที่อยู่กันมาด้วยความรักสามัคคีและร่มเย็นสงบสุข โดยลวดลายของปราสาทผึ้งทุกหลัง ถูกตกแต่งเป็นเรื่องราวของพุทธประวัติ และความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวสกลนคร รวมถึงตำนานเมืองหนองหาร ที่มีความผูกพันกับพญานาค พญานาคมีความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ซึ่งหาชมได้ยากมีที่สกลนครที่เดียวคืองานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งแข่งขันเรือยาวพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ระหว่าง วันที่ 23-29 ตุลาคม 2566 รวม 7 วัน 7 คืน

ส่วนบรรยากาศในการตั้งโชว์ปราสาทผึ้ง เพื่อเตรียมแห่ในวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 วันที่ 24 ตุลาคม ชาวชุมชนต่างก็นำปราสาทผึ้งมาตั้งโชว์ที่ถนนบริเวณศูนย์ราชการ ให้นักท่องเที่ยวได้บันทึกภาพ วันที่ 25 ตุลาคม พิธีเปิดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งขันเรือยาวพระราชทานอย่างเป็นทางการ วันที่ 28 ตุลาคม 

ซึ่งเป็นวันแห่ปราสาทผึ้ง ชาวชุมชนนำขบวนปราสาทผึ้งเคลื่อนขบวนเข้ามา แต่ละขบวนประดับด้วยแสงไฟระยิบระยับสวยงามมาก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามาถ่ายภาพความงดงามวิจิตรตระการตาไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าโอท็อป การละเล่นพื้นบ้านการแสดงและจำหน่ายอาหารปลอดภัย และการติดต้นผึ้งซึ่งเป็นปราสาทผึ้งโบราณ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยวัฒนธรรมประเพณีถิ่นอีสานนั้น มีต้นผึ้งและหอผึ้งเป็นเครื่องสักการบูชาพระพุทธเจ้า ที่สำคัญยิ่ง การทำบุญให้ผู้เสียชีวิต ก็มีต้นผึ้งเป็นเครื่องบูชาและเชื่อว่าผู้ตายจะมีที่อยู่บน สรวงสวรรค์ทางภาคกลางเรียกต้นผึ้งและหอผึ้งเช่นนี้ว่า “ปราสาทผึ้ง” 

ในเวลา ต่อมาต้นผึ้งและหอผึ้งตามรูปแบบดั้งเดิม ถูกสร้างสรรค์ให้มีความอลังกแข่งขันวาดภาพเทการแห่ปราสสทำเรียกที่ว่า “ปราสาทผึ้ง” ในที่สุด

นอกจากนี้ นี้ยังมีการประกวดแข่งขันการวสดภาพเทศกาลแห่ปราสาทผึ้ง 

เกณฑ์การตัดสิน  พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์/เนื้อหาสื่อความหมายได้ชัดเจน   ,การจัดองค์ประกอบศิลป์                                      เทคนิคฝีมือ/ความประณีต                                                           

,ความเสร็จสมบูรณ์ ของภาพโดยรวม ซึ่งผู้เข้าประกวดล้วนเป็นนักเรียน นักศึกษา แค่ละคนวาดได้อย่างสวยงามสื่อความหมายถึงงานเทศการแห่ปราสาทผึ้ง

สำหรับศาสนาพุทธ มีความเชื่อในเรื่องของบุญกรรม เชื่อในเรื่องนรกสวรรค์ และการเวียนว่ายตายเกิด พุทธศาสนิกชนจึงเชื่อในการทำความดีว่า จะช่วยส่งผลให้ตนได้มีชีวิตในภพภูมิที่ดีในอนาคตความเชื่อนี้ส่งผลมาถึงประเพณีแทบทุกอย่างในพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร หรืองานบุญต่างๆ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชาวสกลนคร และชาวอีสานก็เช่นกัน ซึ่งมีคติความเชื่อมาจาก เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพระมารดาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อเสด็จลงมาจากสวรรค์ พระพุทธเจ้าได้แสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก ให้เห็นถึงกันได้ ทำให้ผู้ที่ได้มองเห็นวิมานบนสวรรค์ เกิดความต้องการที่จะได้อยู่ในสถานที่อันงดงามเช่นนั้นบ้าง และทราบว่าการจะได้อยู่ในวิมานอย่างนั้น จะต้องสร้างบุญสร้างกุศล ปฏิบัติธรรม สร้างปราสาทกองบุญในขณะที่เป็นมนุษย์อยู่เสียก่อน จนเป็นที่มาของการสร้างปราสาทผึ้ง ที่งดงามวิจิตรตระการตา ในปัจจุบัน

วัฒนะ แก้วก่า/สกลนคร รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *