สกลนคร โรงงานแป้งมันจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มผลผลิตต้นฤดูกาล
โรงงานแป้งมันพรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY เน้นเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา ที่ลานอเนกประสงค์ PQS 2012 สกลนคร บริษัทในกลุ่ม พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด ถนนสกลนคร-นครพนม อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผวจ. สกลนคร เป็นประธานเปิดจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELDDAY” โดยนายรัฐวิรรุมห์ ชาฎจึงถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ควอลิตตาร์ขจำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้จัดงานขึ้นเพื่อต้องการให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตและลดรายจ่ายเนื่องจากบริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) คือผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง ทั้งประเภทแป้งมันสำปะหลังดิบ และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร ด้วยวัตถุดิบหัวที่มีคุณภาพจาก
พื้นที่ไร่มันสำปะหลัง จากเกษตรกรของทุกโรงงาน กว่าปีละ 300,000 ตัน ซึ่งเฉพาะในเขตโรงงาน PQS 2012 จังหวัดสกลนคร มีพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่รวมกว่า 3,000 ครัวเรือนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25,000 ไร่ ที่เป็นผู้ส่งมอบมันสำปะหลังเข้าสู่โรงงาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการมลิตแป้งมันสำปะหลังมาร่วม 20 ปี ที่ POS ได้ทำหน้าที่ต่อเนื่อง จากมันสำปะหลังในไร่ของเกษตรกร ช่วยกันนำเงินตรากลับเข้าสู่ประเทศ เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มกว่าปีละ 75,000 ตัน โดยส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 และพร้อมนั้นเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องในระดับอาเซียน
มันสำปะหลัง เป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้หลายพื้นที่
มีความทนแล้ง อีกทั้งสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตตันต่อไรได้อีก และในอุตสาหกรรมแป้งมัน-สำปะหลัง ยังมีความต้องการสูงแต่ปัจจุบันการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นการปลูกและจัดการโดยใช้แรงคนเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรมีขีดจำกัดในการดูแลแปลงมันสำปะหลัง และไม่สามารถ
จัดการแปลงได้ทันตามฤดูกาล ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ อีกทั้งยั้งพบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่ช่วงผู้สูงวัย และยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัย
ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับด้านการผลิตมันสำปะหลัง จึงจำเป็นต้องสร้างต้นแบบระบบปลูกมันสำปะหลัง โดยการใช้เครื่องจักรการเกษตร เพื่อทดแทนแรงงานในการจัดการแปลงมันสำปะหลัง และสนับสนุนให้มีแหล่งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเครื่องจักรกลการเกษตรการเพิ่มผลผลิต เพื่อเป็นแบบอย่าง และแนวทางด้านการจัดการแปลงมันป็นระบบ ตลอดจนการใช้พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดการที่ถูกวิธีต่อช่วงอายุการเก็บเกี่ยวจนเป็นวัตถุดิบมันสำปะหลังที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนในอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง ให้แก่พี่น้องเกษตรกรต่อไป วัตถุประสงค์ในการจัดงาน Field Day ในครั้งนี้ หลัก ๆ ก็เพื่อให้เกษตรในพื้นที่กับบริษัทมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมความสนใจให้เกษตรกรตระหนักถึงการผลิตมันสำปะหลักคุณภาพ และผนึกกำลังกำลังกาดีที่เพื่อ สนับสนุนการปลูกมันอย่างจริงจัง เนื่องจากมันสำปะหลังของภาคอีสานถือเป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมภายในงานด้วย กิจกรรม หลัก ๆ มี 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ส่วนการจัดประกวดมันสำปะหลัง โดยมาณฑ์ดีดสินวัดจากมูลค่าของหัวหัวมัน จากน้ำหนักเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้ง และราคาซื้อขาย ณ วันนั้น
ส่วนฐานเรียนรู้ จะแบ่งออกเป็น 4 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานการจัดการศัตรูพืชและโรคพืช และการปรัปรับปรุงหิน โดยส่วนราชการของ สำนักงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทีมนักวิชาการที่เจี่ยวชาญด้านงานอารักขาพืชและการพัฒนาที่ดิน2) ฐานพันธุ์สำปะหลัง โดยคณาจารย์และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์3) ฐานเครื่องจักรกลการมาษตร สำหรับการผลิตมันสำปะหลังแบบครบวงรบวงจร โดยบริษัทตัวแทนจำหน่ายคโบต้าประจำเขตพื้นที่ ร่วมกับกับผู้เชี่ยวขาญของคู่โบต้าจากส่วนกลาง4) ฐานการจัดการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และการธนารธนารต้นไม้ POS มีการจัดนิทรรศการสินค้า จะมีทั้งส่วนการผลิตของทาง PQS นิทรรศการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผลิตผลและองค์ความรู้จากภาคีเครือข่าย รวมถึงเกษตรกร ขณะที่โซนนวัตกรรมเครื่องจักรกล จะจัดแสดงนวัตกรรมและเครื่องทุ่นแรง สำหรับการปลูกมันสำปะหลัง โดยคูโบต้า ประเทศไทย จำกัด นิทรรศกจาก บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด นิทรรศการสินค้าริษัท Sojitz (โซ-จิท-สึ) จำกัด และ นิทรรศการสินค้าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์สกลนคร เป็นต้นและ ส่วนช่วงท้ายกิจกรรม การแข่งขันผลผลิตมันสำปะหลังที่ปลูกได้ให้ผลิตผลิตมากอีกด้วย